เฟส2

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

หลักการและเหตุผล

       ตามที่รัฐบาล มีแผนงานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มุ่งเน้นการรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการและกระตุ้นศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับที่รัฐบาลได้กำหนดให้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) เป็นยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG Economy เนื่องจาก อว. มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

       เพื่อให้สอดรับกับนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมหลังสถานการณ์โควิดและยุทธศาสตร์ BCG Economy สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จึงเสนอการดำเนินการ “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ด้วยเศรษฐกิจ BCG ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเป็นการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ภายใต้ อว. ไปขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิตและบริการในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เพิ่มและรักษาระดับการจ้างงาน อาทิเช่น การเกิดธุรกิจใหม่ การขยายตัวทางธุรกิจ การเติบโตของการลงทุน การเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ การเพิ่มการบริโภค เป็นต้น ทั้งนี้ อว. ได้ดำเนินการโครงการในลักษณะเดียวกันในปี พ.ศ. 2564 ได้แก่ “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)” ภายใต้ “พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” พ.ศ. 2563 โดยได้ดำเนินการในพื้นที่ 3,000 ตำบลทั่วประเทศ ซึ่งผลการดำเนินการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี สามารถจ้างงานในพื้นที่ได้มากกว่า 58,000 คน (คิดเป็น 97.5% ของเป้าหมายที่วางไว้) มีกิจกรรมในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมกว่า 10,088 กิจกรรม ซึ่งจากการประเมินค่าผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment) เมื่อสิ้นสุดโครงการ (31 ธันวาคม 2564) สามารถประเมินได้ว่า “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)” ให้ผลตอบแทนทางสังคมประมาณ 4.75 เท่าของงบประมาณที่ใช้ หรือประมาณ 50,547.7 ล้านบาท โดยการใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น เทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาความรู้ด้านสินค้า สมาร์ทฟาร์ม เกษตรอินทรีย์ การจัดการท่องเที่ยวแบบ New Normal การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การทำตลาดดิจิทัล การท่องเที่ยวชุมชน และการส่งเสริมสุขภาพถ้วนหน้า เป็นต้น

       “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG” นี้ จะเป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่

วัตถุประสงค์

เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เพื่อเพิ่มการจ้างงานบัณฑิตที่พึ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่

พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG

เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ

เป้าหมายและแผนการดำเนินการภาพรวมของโครงการ

เป้าหมายและแผนการดำเนินการของมหาวิทยาลัย

การบริหารโครงการ

       บทบาทและขอบเขตการดำเนินการ การบริหารโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG แบ่งการบริหารโครงการออกเป็น 3 ระดับ โดยมีรายละเอียดและขอบเขตการดำเนินการ ดังนี้
  • ระดับประเทศ ดำเนินการโดยสำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (National System Integrator : NSI) จะทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินการของโครงการในระดับประเทศ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในแผนการดำเนินการ แผนการใช้ทรัพยากร และทำให้สามารถขับเคลื่อนโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ รวมถึงส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา โดยการพัฒนา Platform กลาง ในการขับเคลื่อนโครงการฯ ให้บรรลุวัตถุประสงค์
  • ระดับจังหวัด ดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษาที่เป็น อว.ส่วนหน้า (Provincial System Integrator : PSI) เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานของพื้นที่ในระดับจังหวัด ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและติดตาม การทำงานของโครงการในภาพรวมของจังหวัด เพื่อให้เกิดการบูรณาการในแผนการดำเนินการ แผนการใช้ทรัพยากร และทำให้สามารถขับเคลื่อนพื้นที่ได้ในระดับจังหวัด
  • ระดับตำบล ดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบในพื้นที่ตำบลต่างๆ ทำหน้าที่ใน การบูรณาการระบบการทำงานในพื้นที่ ในการบริหารจัดการและติดตาม กิจกรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ และสังคม การจัดทำและวิเคราะห์ข้อมูล TCD การประสานหน่วยงานต่างๆในพื้นที่และการกำกับดูแลผู้ได้รับการจ้างงาน
  • โดยมีรายละเอียดการดำเนินการ ดังตาราง

    โครงสร้างการบริหารจัดการ บทบาทและขอบเขตการดำเนินการ
    1) ระดับประเทศ (National System Integrator : NSI) โดยสำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

    1. ทำหน้าที่เป็น “หน่วยประสานงาน” ในการเชื่อม การประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายในการดำเนินการระดับจังหวัด (อว.ส่วนหน้า) ระดับตำบล (สถาบันอุดมศึกษา) และหน่วยงานภายนอก อว. ที่เกี่ยวข้อง

    2. ทำหน้าที่จัดทำแผนการดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ ตั้งแต่กระบวนการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ กำกับติดตามการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ในการบูรณาการแผนการดำเนินการ แผนการใช้ทรัพยากร เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ของหน่วยดำเนินการระดับจังหวัด (อว.ส่วนหน้า) และระดับตำบล (สถาบันอุดมศึกษา)

    3. สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ให้แก่หน่วยดำเนินการในระดับตำบล (สถาบันอุดมศึกษา)

    4. สนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานดำเนินการระดับจังหวัด (อว.ส่วนหน้า) ในการบูรณาการกิจกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

    5. จัดทำฐานข้อมูล Thailand Community Big Data และจัดทำ Data Analytics ร่วมกับหน่วยดำเนินการในระดับจังหวัดและระดับตำบล เพื่อการใช้ประโยชน์จากข้อมูล

    6. การจัดทำระบบลงทะเบียน การอบรมด้าน BCG การติดตามและประเมินผลกิจกรรม การจัดทำรายงาน ผ่านระบบ Project Base Management และการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลการดำเนินงาน

    7. จัดทำ Platform กลางเพื่อผลักดันผลที่ได้รับจาก การดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของพื้นที่ 7,435 ตำบล สู่การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตำบล (U2T Market Place Platform)

    8. พัฒนาทักษะด้าน BCG ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ และกิจกรรมส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon)

    9. ทำหน้าที่ติดตามประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบในภาพรวมของโครงการ

    10. จัดทำรายงานสรุปผลโครงการและผลกระทบ ในภาพรวมในระดับประเทศ

    2) ระดับจังหวัด (Provincial System Integrator : PSI) โดยสถาบันอุดมศึกษาที่เป็น อว.ส่วนหน้า

    1. ทำหน้าที่เป็น “หน่วยประสานงาน” ในการเชื่อม การประสานการดำเนินงานกับส่วนกลาง (สป.อว.) หน่วยงานดำเนินการระดับตำบล (สถาบันอุดมศึกษา) ในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ และหน่วยงานภายนอก อว. ระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้อง

    2. ทำหน้าที่จัดทำแผนการดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ของหน่วยดำเนินการระดับจังหวัด ในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ

    3. ทำหน้าที่กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG ของหน่วยดำเนินการในระดับจังหวัด ในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ

    4. ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon)

    5. ทำหน้าที่ติดตามประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของการดำเนินกิจกรรมของหน่วยดำเนินการ ในระดับจังหวัด ในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ

    6. จัดทำรายงานสรุปผลโครงการและผลกระทบในภาพรวมในระดับจังหวัด

    3) ระดับตำบล (University System Integrator : USI) โดยสถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบในพื้นที่ตำบลต่างๆ

    1. ทำหน้าที่เป็น “หน่วยประสานงาน” ในการเชื่อม การประสานการดำเนินงานกับส่วนกลาง (สป.อว.) หน่วยงานดำเนินการระดับจังหวัด (อว.ส่วนหน้า) และหน่วยงานภายนอก อว. ระดับตำบลที่เกี่ยวข้อง

    2. ทำหน้าที่จัดทำแผนการดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG ของพื้นที่ตำบลที่สถาบันอุดมศึกษารับผิดชอบ

    3. ทำหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ ในพื้นที่ตำบลที่สถาบันอุดมศึกษารับผิดชอบ โดยคัดเลือกจากผู้สมัครในระบบการรับสมัครของ สป.อว.

    4. ทำหน้าที่กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG ของพื้นที่ตำบลที่สถาบันอุดมศึกษารับผิดชอบ การพัฒนา ส่งเสริม และผลักดันผลิตภัณฑ์ และบริการ BCG ของชุมชนออกสู่ตลาดอย่างเป็น ระบบและยั่งยืน

    5. หน้าที่กำกับ ติดตามการจัดเก็บข้อมูล Thailand Community Big Data ในพื้นที่ตำบลที่รับผิดชอบ

    6. ทำหน้าที่ติดตามประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของการดำเนินกิจกรรมของหน่วยดำเนินการ ในระดับตำบล (สถาบันอุดมศึกษา) รายตำบล

    7. จัดทำรายงานสรุปผลโครงการและผลกระทบในภาพรวมในระดับสถาบันอุดมศึกษา

    แหล่งงบประมาณ งบกลางปี 2565 (งบเงินอุดหนุนทั่วไป)
    การดำเนินการ คณะรัฐมนตรีอนุมัติการดำเนินงานวันที่ 14 มิถุนายน 2565
    พื้นที่ดำเนินการ 7,435 ตำบลทั่วประเทศ (มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 46 ตำบล)
    ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน (1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน 2565)

    การบริหารงบประมาณโครงการ

           งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

           1) งบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ครอบคลุม 7,435 ตำบล โดยมีรายละเอียดการสนับสนุนงบประมาณ ดังนี้

  • 1.1) พื้นที่ 3,000 ตำบลเดิม จำนวน 107,500 บาท/ตำบล
  • 1.2) พื้นที่ 4,435 ตำบลใหม่ จำนวน 145,000 บาท/ตำบล
  •        โดยสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม ประกอบไปด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนรวมในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG และกิจกรรมการพัฒนา ส่งเสริมและผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการ BCG ของชุมชนอย่าง เป็นระบบและยั่งยืน เช่น

    • ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม หรือ จัดกิจกรรมเศรษฐกิจ BCG ร่วมกับหน่วยงานและภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องในตำบล
    • ค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG ในการผลิตสินค้าและบริการของตำบล
    • ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์หรือ Brand สินค้าและบริการของตำบล การพัฒนาออกแบบสินค้า บรรจุภัณฑ์ ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG
    • ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการตลาดและหาช่องทางขายผลิตภัณฑ์และบริการ BCG ของตำบล
    • ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
    • ค่าวัสดุใช้สอย
    • ค่าใช้จ่ายในการจัดทำ Platform เพื่อผลักดันผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของพื้นที่ 7,435 ตำบล สู่การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตำบล (U2T Market Place Platform) (ดำเนินการโดย สป.อว. โดยอาจเบิกจ่ายในวงเงินไม่เกินร้อยละ 5 จากค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมรายตำบล)
    • ค่าบริหารจัดการ : บริหาร กำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการของสถาบันอุดมศึกษาและ หน่วยบริหารจัดการระดับตำบล (University System Integrator : USI) (ในวงเงินไม่เกิน ร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมรายตำบล)

           2) งบประมาณค่าตอบแทนสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ

    2.1) พื้นที่ 3,000 ตำบลเดิม กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 8 คน/ตำบล ประกอบด้วย
  • 2.1.1) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามาไม่เกิน 5 ปี ในวงเงิน 45,000 บาท ตลอดโครงการ โดยแบ่งจ่ายค่าตอบแทนออกเป็น 3 งวด งวดละ 15,000 บาท จำนวน 4 คน
  • 2.1.2) ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชนในพื้นที่ ในวงเงิน 27,000 บาท ตลอดโครงการ โดยแบ่งจ่ายค่าตอบแทนออกเป็น 3 งวด งวดละ 9,000 บาท จำนวน 4 คน
  • 2.2) พื้นที่ 4,435 ตำบลใหม่ กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน/ตำบล ประกอบด้วย
  • 2.2.1) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามาไม่เกิน 5 ปี ในวงเงิน 45,000 บาท ตลอดโครงการ โดยแบ่งจ่ายค่าตอบแทนออกเป็น 3 งวด งวดละ 15,000 บาท จำนวน 5 คน
  • 2.2.2) ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชนในพื้นที่ ในวงเงิน 27,000 บาท ตลอดโครงการ โดยแบ่งจ่ายค่าตอบแทนออกเป็น 3 งวด งวดละ 9,000 บาท จำนวน 5 คน โดยการกำหนดงวดงาน ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการจัดทำขอบเขตของงานและเงื่อนไขการจ้างงาน และข้อตกลงจ้าง (ตัวอย่างตามภาคผนวก 1 - 2)
  • คุณสมบัติของผู้รับจ้าง

    ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้

    คุณสมบัติทั่วไป เป็นไปตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด เช่น

    1. ) มีสัญชาติไทย
    2. ) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

    ลักษณะที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขการจ้าง เป็นไปตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด

    1. ) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
    2. ) เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือโรคที่ต้องห้ามตามที่กฎ ก.พ. กำหนด
    3. ) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
    4. ) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
    5. ) เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
    6. ) เป็นบุคคลล้มละลาย
    7. ) เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
    8. ) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
    9. ) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัย
    10. ) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ สำหรับพระภิกษุหรือสามเณรไม่สามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกการจ้างงาน ตามหนังสือ กรมสารบรรณคณะรัฐมนตรี ฝ่ายบริหาร ที่ นว 89/2501 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2501 และตามความในข้อ 5 ของคำสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ 17 มีนาคม 2538
    คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง

    1. ) บัณฑิตจบใหม่ เป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 5 ปี และมีความรู้ ความสามารถที่ตรงต่อภารกิจในการปฏิบัติงาน ที่ว่างงาน และไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง จากหน่วยงานอื่นของภาครัฐและภาคเอกชน และไม่ได้รับความช่วยเหลือในการจ้างงานจากภาครัฐที่ให้การช่วยเหลืออยู่
    2. ) ผู้ที่ถูกเลิกจ้างหรือประชาชนในพื้นที่ เป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียง ที่ว่างงานหรือ ไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง จากหน่วยงานอื่นของภาครัฐและภาคเอกชน และไม่ได้รับความช่วยเหลือในการจ้างงาน จากภาครัฐที่ให้การช่วยเหลืออยู่
    3. ) มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด
    กิจกรรมการดำเนินการ

    1. โครงการ U2T for BCG ส่งเสริมและการสร้าง Value Chain ให้กับสินค้าและบริการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน
    2. กิจกรรมในการดำเนินงาน U2T for BCG ของบัณฑิตประชาชนและมหาวิทยาลัย

      1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและบริการ
      2. การส่งเสริมการขายและการตลาด
      3. การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูง
      4. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์
      5. การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ
      6. การขนส่งและกระจายสินค้า
    3. การประกวดการแข่งขัน Hackathon การขายผลิตภัณฑ์และบริการทั้งในระดับจังหวัดและประเทศ
      • 5,000 สินค้า/บริการ (จาก 7,435 ตำบล)
      • 4,500 สินค้า/บริการที่จำหน่ายสู่ตลาด
      • 36 โครงการระดับภูมิภาค เพื่อร่วมแข่งขัน Hackathon ระดับประเทศที่เน้น BCG Economy (Bio –Cirular-Green)
      • แข่งขันเป็น 4 โครงการสุดยอด U2T BCG ระดับประเทศ

    งบประมาณค่าตอบแทนสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ

           สป.อว. จะดำเนินการโอนงบประมาณโดยแบ่งออกเป็น 3 งวด หลังจากที่สถาบันอุดมศึกษาได้ดำเนินการรายงานผลการดำเนินการตามแบบฟอร์มที่ สป.อว. กำหนด ในระบบบริหารจัดการโครงการ (Project Base Management) ตามแบบฟอร์มและระยะเวลาที่ สป.อว. กำหนด เรียบร้อยแล้ว โดยแบบฟอร์มที่สถาบันอุดมศึกษาต้องรายงานผลการดำเนินการเข้าสู่ระบบ ประกอบด้วย

    งวดที่ 1 ประกอบด้วย

    • ใบเสนออนุมัติงานงวดที่ 1 (U1)
    • ข้อเสนอโครงการ (C1)
    • แผนธุรกิจ (C2)

    งวดที่ 2 ประกอบด้วย

    • ใบเสนออนุมัติงานงวดที่ 2 (U2)
    • แผนพัฒนาสินค้า (C3)
    • รายงานการพัฒนาสินค้า (C4)

    งวดที่ 3 ประกอบด้วย

    • ใบเสนออนุมัติงานงวดที่ 3 (U3)
    • แผนการนำสินค้าสู่ตลาด (C5)
    • รายงานฉบับสมบูรณ์ (C6)

    ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

    1. ผลิตภัณฑ์หรือบริการของชุมชนที่ได้มาตรฐานและได้ออกสู่ตลาดมียอดขายเพิ่มขึ้นหรือการบริโภคเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% โดยเก็บข้อมูลเปรียบเทียบยอดขายจริงก่อนและหลังการดำเนินโครงการ
    2. เกิดแนวคิดหรือผลิตภัณฑ์หรือบริการของชุมชนไม่น้อยกว่า 4,500 รายการ
    3. ข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ (TCD) Thailand Community Data ครบทุกพื้นที่โดยเก็บข้อมูลเปรียบเทียบปริมาณก่อนและหลังการดำเนินการโครงการ

    ตำบลที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีรับผิดชอบ

           ดำเนินโครงการ 46 ตำบล เป็นตำบลเดิมจำนวน 15 ตำบล และตำบลใหม่ จำนวน 31 ตำบล การจ้างงานจำนวน 430 อัตรา ทำงานในพื้นที่ 46 ตำบล ในจังหวัดจันทบุรีและตราด บัณฑิตจบใหม่ (ไม่เกิน 5 ปี) 215 อัตรา (เงินเดือน 15,000 บาท) ประชาชนทั่วไป(อายุ 18 ปีขึ้นไป) 215 อัตรา (เงินเดือน 9,000 บาท) ระยะเวลา 3 เดือน (1 ก.ค.- 30 ก.ย.65)

    ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

    1. พัฒนา ส่งเสริม และผลักดันเศรษฐกิจ BCG ของพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พัฒนาส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการด้าน BCG ของชุมชนออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบและยั่งยืน อาทิเช่น การพัฒนาสินค้าและบริการชุมชนให้ได้มาตรฐานด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทำการตลาดและขายสินค้าทั้งแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์หรืออัตลักษณ์แบรนด์สินค้า เพื่อให้สินค้าและบริการนั้นให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ และสามารถกระจายสินค้าและบริการได้อย่างกว้างขวาง การพัฒนา U2T Market Place Platform เพื่อเป็นตลาดการขายผลิตภัณฑ์ และบริการชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมผลักดัน ในโครงการ ยกระดับสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล และถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านการผลิตและบริการ
    2. วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ (Thailand Community Big Data : TCD) ในพื้นที่ ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานสนับสนุน จัดทำข้อมูล TCD ให้สมบูรณ์ ปรับปรุงและพัฒนา Platform ให้ตอบสนองการใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ และถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก TCD ให้ผู้ที่ใช้ประโยชน์ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน
    3. ประสานงาน ติดตาม ทำงานเป็นทีม
    4. รายงานผลการปฏิบัติงานต่อมหาวิทยาลัยทุกเดือน
    5. ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างและภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
    ลำดับ หน่วยงาน จังหวัด อำเภอ ตำบล จำนวนบัณฑิต จำนวนประชาชน
    1 สำนักบริการวิชาการ จันทบุรี มะขาม ปัถวี 5 5
    2 กองพัฒนานักศึกษา จันทบุรี แก่งหางแมว แก่งหางแมว 4 4
    3 กองพัฒนานักศึกษา จันทบุรี แหลมสิงห์ ปากน้ำแหลมสิงห์ 4 4
    4 กองพัฒนานักศึกษา จันทบุรี ท่าใหม่ ยายร้า 5 5
    5 คณะครุศาสตร์ จันทบุรี แก่งหางแมว พวา 4 4
    6 คณะครุศาสตร์ จันทบุรี ท่าใหม่ เขาวัว 5 5
    7 คณะครุศาสตร์ จันทบุรี ขลุง มาบไพ 5 5
    8 คณะครุศาสตร์ จันทบุรี โป่งน้ำร้อน ทับไทร 5 5
    9 คณะเทคโนโลยีการเกษตร จันทบุรี ขลุง ตรอกนอง 4 4
    10 คณะเทคโนโลยีการเกษตร จันทบุรี ขลุง บ่อ 5 5
    11 คณะเทคโนโลยีการเกษตร จันทบุรี ท่าใหม่ สีพยา 5 5
    12 คณะเทคโนโลยีการเกษตร จันทบุรี มะขาม ท่าหลวง 5 5
    13 คณะเทคโนโลยีการเกษตร จันทบุรี เมืองจันทบุรี คมบาง 5 5
    14 คณะเทคโนโลยีการเกษตร จันทบุรี แหลมสิงห์ หนองชิ่ม 5 5
    15 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตราด แหลมงอบ น้ำเชี่ยว 5 5
    16 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตราด แหลมงอบ แหลมงอบ 5 5
    17 คณะเทคโนอุตสาหกรรม จันทบุรี ขลุง เกวียนหัก 4 4
    18 คณะนิติศาสตร์ จันทบุรี แก่งหางแมว ขุนซ่อง 4 4
    19 คณะนิติศาสตร์ จันทบุรี ท่าใหม่ ท่าใหม่ 5 5
    20 คณะนิเทศศาสตร์ จันทบุรี ขลุง ตะปอน 4 4
    21 คณะนิเทศศาสตร์ จันทบุรี ขลุง วันยาว 5 5
    22 คณะนิเทศศาสตร์ จันทบุรี นายายอาม ช้างข้าม 5 5
    23 คณะนิเทศศาสตร์ ตราด บ่อไร่ หนองบอน 5 5
    24 คณะพยาบาลศาสตร์ จันทบุรี แก่งหางแมว สามพี่น้อง 4 4
    25 คณะพยาบาลศาสตร์ จันทบุรี เมืองจันทบุรี พลับพลา 5 5
    26 คณะพยาบาลศาสตร์ จันทบุรี เขาคิชฌกูฏ ชากไทย 5 5
    27 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตราด คลองใหญ่ หาดเล็ก 5 5
    28 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตราด เมืองตราด เนินทราย 5 5
    29 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จันทบุรี ขลุง ตกพรม 4 4
    30 คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จันทบุรี ขลุง ขลุง 4 4
    31 คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จันทบุรี สอยดาว ทับช้าง 5 5
    32 คณะวิทยาการจัดการ จันทบุรี แก่งหางแมว เขาวงกต 4 4
    33 คณะวิทยาการจัดการ ตราด เกาะช้าง เกาะช้าง 5 5
    34 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จันทบุรี ขลุง ซึ้ง 4 4
    35 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จันทบุรี ท่าใหม่ สองพี่น้อง 5 5
    36 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จันทบุรี โป่งน้ำร้อน โป่งน้ำร้อน 5 5
    37 สถาบันนานาชาติ ตราด เขาสมิง วังตะเคียน 5 5
    38 สถาบันนานาชาติ ตราด บ่อไร่ นนทรีย์ 5 5
    39 สำนักบริการวิชาการ จันทบุรี เมืองจันทบุรี หนองบัว 4 4
    40 สำนักบริการวิชาการ ตราด เกาะกูด เกาะกูด 5 5
    41 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จันทบุรี เมืองจันทบุรี ท่าช้าง 4 4
    42 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จันทบุรี ท่าใหม่ พลอยแหวน 5 5
    43 สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน จันทบุรี เขาคิชฌกูฏ จันทเขลม 4 4
    44 สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน จันทบุรี ท่าใหม่ ทุ่งเบญจา 5 5
    45 สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน ตราด บ่อไร่ ด่านชุมพล 5 5
    46 สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน ตราด บ่อไร่ บ่อพลอย 5 5